ดูบทความวิธีปฏิบัติ 10 ประการ เพื่อการนอนหลับให้ได้สุขภาพที่ดี

วิธีปฏิบัติ 10 ประการ เพื่อการนอนหลับให้ได้สุขภาพที่ดี

หมวดหมู่: สุขภาพ

วิธีปฏิบัติ 10 ประการ เพื่อการนอนหลับให้ได้สุขภาพที่ดี มีดังนี้


1. ทำกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ อย่านอนตื่นสายเมื่อมีโอกาส (เช่นวันสุดสัปดาห์) หากเราทำอย่างนั้นแล้ว เราอาจนอนไม่หลับในคืนวันอาทิตย์ เช้าวันจันทร์ จะรู้สึกอ่อนเพลียมากที่เดียว เราควรเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกๆ วัน การใช้นาฬิกาปลุกนั้น ก็ไม่จำเป็น


2. อย่ารับประทานอาหารเข้าไปเยอะๆ ก่อนเข้านอน ควรที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชม. หากดื่มน้ำเข้าไปมากเราอาจจะต้องตื่นมามเข้าห้องน้ำหลายครั้งในกลางดึกอย่ารับประทานอาหารรสจัดหรือมีไขมันสูง เพราะจะทำให้เกิดลมในกระเพาะ อย่ารับประทานอาหารว่างตอนดึก หากหิวจริงๆ แล้ว ก็ควรรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายหลั่งสาร Serotonin (จำทำให้ง่วง) หรืออาหารจำพวกแป้ง (Carbohydrates) ได้แก่ ขนมปัง หรือธัญพืชต่างๆ เราอาจรับประทานอาหารที่มีสารกรดแอมิโน L-Tryptophan อันได้แก่ นม, ปลาทูน่า หรือไก่ ก็ได้ผลดี อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เมื่อใกล้เวลาเข้านอน เนื่องจากว่า แอลกอฮอล์อาจทำให้ตื่นขึ้นมาบ่อยๆ, กรน และอาจทำให้มีการหยุดหายใจเป็นพักๆ (ที่เรียกว่า Sleep apnea)


3. ควรหลีกเลี่ยงสารกาเฟอีนและนิโคติน เนื่องจากว่ามันเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และยังเป็นสารเสพติดอีกด้วย สารเหล่านี้อาจกระตุ้นประสาทจนนอนไม่หลับ


4. การออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้เราหลับสบาย เวลาออกกำลังกายที่ดี (เพื่อนอนหลับ) คือช่วงตอนบ่าย การออกกำลังกายนั้นจะช่วยให้หลับได้อย่างลึก อันจะนำมาสู่ความหายเหนื่อยและรู้สึกกระปรี๊กระเปร่า


5. อากาศในห้องนอนที่เย็นสบายกำลังดีไม่ร้อนเกินไป, ไม่หนาวเกินไป จากการวิจัย เราพบว่าหากมือและเท้าของเราได้รับความอบอุ่นดีแล้ว การนอนหลับนั้นจะเกิดได้ดียิ่งขึ้น


6. นอนเวลากลางคืนเท่านั้น อย่านอนกลางวันเป็นเวลานานๆ โดยเด็ดขาด หากจะนอนกลางวันจริงๆก็ให้นอนงีบ ครั้งละไม่เกิน 20 นาที

สำหรับคนที่ทำงานกลางคืนแล้วต้องนอนตอนกลางวันนั้น ควรจะบังแสงสว่างให้ห้องนั้นมืดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะแสงสว่างนั้นจะมีผลต่อนาฬิกาของร่างกายเรา ทำให้นอนไม่หลับ

ส่วนคนที่ทำงานกลางวันและนอนกลางคืนแต่มีปัญหาว่าตื่นนอนยากนั้น ควรที่จะเปิดม่านไว้เพื่อให้แสงสว่างเข้าได้เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น จะช่วยให้ตื่นได้ดีขึ้น


7. อย่าให้มีเสียงรบกวน ความเงียบนั้นจะทำให้เราหลับได้ดีและสบายขึ้น ปิดวิทยุหรือโทรทัศน์เสีย อาจใช้จุกอุดหู หรือเครื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดเสียงเบาๆ แบบสม่ำเสมอ เช่น พัดลม เพื่อกลบเสียงต่างๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เสียงการจราจร, เสียงเครื่องบิน หรือแม้กระทั่งคู่นอนที่นอนกรน การปิดกระจกและการใช้ม่าน ก็สามารถกำจัดเสียงได้มากที่เดียว


8. จัดการกับที่นอน ที่นอนที่ดีของแต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สิ่งที่สำคัญคือที่นอนควรสบาย และรองรับโครงร่างของเราได้เป็นอย่างดี หากจะต้องนอนเตียงร่วมกับคนอื่น ควรที่จะแน่ใจว่า ที่นอนกว้างเพียงพอใช้ที่นอนเพื่อการนอนเท่านั้น

ควรเข้านอนเมื่อเรารู้สึกว่าอ่อนเพลียแล้วปิดไฟ แล้วนอนลง หากไม่หลับภายใน 15 นาที ควรลุกขึ้นมาทำอะไรได้จนกว่าจะรู้ว่าอ่อนเพลียอีกครั้ง แล้วลงนอนใหม่ อย่ากังวลว่านอนไม่หลับความกังวลจะยิ่งทำให้หลับยากมากขึ้น


9. อาบน้ำแล้วนอน การอาบน้ำอุ่นจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยให้หลับสบาย


10.ไม่ควรใช้ยานอนหลับเป็นอันขาดยกเว้นว่าจะมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น แล้วควรใช้ตามดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น จะมีผลขัดกับยาอื่นๆ ที่เราต้องรับประทานอยู่หรือเปล่า ยานอนหลับอาจมีผลต่อโรคเดิมที่เราอยู่ก็ได้ ให้ใช้ขนาดยาน้อยที่สุดที่จะได้ผลและห้ามรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดหากใช้นานอนหลับแล้วรู้สึกมึนหัวหรือง่วงหลังจากที่ตื่นนอนแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เผื่อว่าอาจต้องปรับขนาดของยา หรือเปลี่ยนชนิดของยาก็เป็นได้


วิธีปฏิบัติ 10 ประการ เพื่อการนอนหลับให้ได้สุขภาพที่ดี มีดังนี้

1. ทำกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ อย่านอนตื่นสายเมื่อมีโอกาส (เช่นวันสุดสัปดาห์) หากเราทำอย่างนั้นแล้ว เราอาจนอนไม่หลับในคืนวันอาทิตย์ เช้าวันจันทร์ จะรู้สึกอ่อนเพลียมากที่เดียว เราควรเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดิมทุกๆ วัน การใช้นาฬิกาปลุกนั้น ก็ไม่จำเป็น 

2. อย่ารับประทานอาหารเข้าไปเยอะๆ ก่อนเข้านอน ควรที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชม. หากดื่มน้ำเข้าไปมากเราอาจจะต้องตื่นมามเข้าห้องน้ำหลายครั้งในกลางดึกอย่ารับประทานอาหารรสจัดหรือมีไขมันสูง เพราะจะทำให้เกิดลมในกระเพาะ อย่ารับประทานอาหารว่างตอนดึก หากหิวจริงๆ แล้ว ก็ควรรับประทานอาหารที่ทำให้ร่างกายหลั่งสาร Serotonin (จำทำให้ง่วง) หรืออาหารจำพวกแป้ง (Carbohydrates) ได้แก่ ขนมปัง หรือธัญพืชต่างๆ เราอาจรับประทานอาหารที่มีสารกรดแอมิโน L-Tryptophan อันได้แก่ นม, ปลาทูน่า หรือไก่ ก็ได้ผลดี อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เมื่อใกล้เวลาเข้านอน เนื่องจากว่า แอลกอฮอล์อาจทำให้ตื่นขึ้นมาบ่อยๆ, กรน และอาจทำให้มีการหยุดหายใจเป็นพักๆ (ที่เรียกว่า Sleep apnea)

3. ควรหลีกเลี่ยงสารกาเฟอีนและนิโคติน เนื่องจากว่ามันเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และยังเป็นสารเสพติดอีกด้วย สารเหล่านี้อาจกระตุ้นประสาทจนนอนไม่หลับ

4. การออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยให้เราหลับสบาย เวลาออกกำลังกายที่ดี (เพื่อนอนหลับ) คือช่วงตอนบ่าย การออกกำลังกายนั้นจะช่วยให้หลับได้อย่างลึก อันจะนำมาสู่ความหายเหนื่อยและรู้สึกกระปรี๊กระเปร่า

5. อากาศในห้องนอนที่เย็นสบายกำลังดีไม่ร้อนเกินไป, ไม่หนาวเกินไป จากการวิจัย เราพบว่าหากมือและเท้าของเราได้รับความอบอุ่นดีแล้ว การนอนหลับนั้นจะเกิดได้ดียิ่งขึ้น

6. นอนเวลากลางคืนเท่านั้น อย่านอนกลางวันเป็นเวลานานๆ โดยเด็ดขาด หากจะนอนกลางวันจริงๆก็ให้นอนงีบ ครั้งละไม่เกิน 20 นาที

สำหรับคนที่ทำงานกลางคืนแล้วต้องนอนตอนกลางวันนั้น ควรจะบังแสงสว่างให้ห้องนั้นมืดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะแสงสว่างนั้นจะมีผลต่อนาฬิกาของร่างกายเรา ทำให้นอนไม่หลับ

ส่วนคนที่ทำงานกลางวันและนอนกลางคืนแต่มีปัญหาว่าตื่นนอนยากนั้น ควรที่จะเปิดม่านไว้เพื่อให้แสงสว่างเข้าได้เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น จะช่วยให้ตื่นได้ดีขึ้น

7. อย่าให้มีเสียงรบกวน ความเงียบนั้นจะทำให้เราหลับได้ดีและสบายขึ้น ปิดวิทยุหรือโทรทัศน์เสีย อาจใช้จุกอุดหู หรือเครื่องอะไรก็ได้ที่ทำให้เกิดเสียงเบาๆ แบบสม่ำเสมอ เช่น พัดลม เพื่อกลบเสียงต่างๆ ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เสียงการจราจร, เสียงเครื่องบิน หรือแม้กระทั่งคู่นอนที่นอนกรน การปิดกระจกและการใช้ม่าน ก็สามารถกำจัดเสียงได้มากที่เดียว

8. จัดการกับที่นอน ที่นอนที่ดีของแต่ละคนนั้น มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สิ่งที่สำคัญคือที่นอนควรสบาย และรองรับโครงร่างของเราได้เป็นอย่างดี หากจะต้องนอนเตียงร่วมกับคนอื่น ควรที่จะแน่ใจว่า ที่นอนกว้างเพียงพอใช้ที่นอนเพื่อการนอนเท่านั้น

ควรเข้านอนเมื่อเรารู้สึกว่าอ่อนเพลียแล้วปิดไฟ แล้วนอนลง หากไม่หลับภายใน 15 นาที ควรลุกขึ้นมาทำอะไรได้จนกว่าจะรู้ว่าอ่อนเพลียอีกครั้ง แล้วลงนอนใหม่ อย่ากังวลว่านอนไม่หลับความกังวลจะยิ่งทำให้หลับยากมากขึ้น

9. อาบน้ำแล้วนอน การอาบน้ำอุ่นจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ช่วยให้หลับสบาย

10.ไม่ควรใช้ยานอนหลับเป็นอันขาดยกเว้นว่าจะมีความจำเป็นจริงๆ เท่านั้น แล้วควรใช้ตามดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น จะมีผลขัดกับยาอื่นๆ ที่เราต้องรับประทานอยู่หรือเปล่า ยานอนหลับอาจมีผลต่อโรคเดิมที่เราอยู่ก็ได้ ให้ใช้ขนาดยาน้อยที่สุดที่จะได้ผลและห้ามรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดหากใช้นานอนหลับแล้วรู้สึกมึนหัวหรือง่วงหลังจากที่ตื่นนอนแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เผื่อว่าอาจต้องปรับขนาดของยา หรือเปลี่ยนชนิดของยาก็เป็นได้

18 สิงหาคม 2559

ผู้ชม 1125 ครั้ง

    Engine by shopup.com